ประเภทของสารเคมี
1.ชื่อผลิตภัณฑ์2.รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3.คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS
สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายในระบบ NFPA
นอกจากฉลากและสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายต่างๆที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ของสารเคมีแล้ว สารเคมีทุกชนิดต้องมีเอกสารความปลอดภัย ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียด
ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี
ก่อนปฏิบัติการ
1.ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ
2.ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ
3.แต่งกายให้เหมาะสม
ขณะปฏิบัติการ
ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตราย
2.ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง
3.ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียว
4.ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ
5.ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
6.ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน
ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
1.อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำสารเคมีไปใช้
2.การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทำด้วยความระมัดระวัง
3.การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
4.ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง
5.การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำ
6.ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด ให้เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้
7.เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดและเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้งสารที่เตรียมไว้ในห้องปฏิบัติการ
หลังปฏิบัติการ
1.ทำความสะอาดอุปกรณ์
2.ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
การกำจัดสารเคมี
1.สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pHเป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆได้
2.สารละลายเข้มข้นบางชนิดไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ถ้ามีปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน
3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น